วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555


สาธารณรัฐฟิลิปปินส์












   ที่ตั้งอาณาเขต
        เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก
 พื้นที่
             หมู่เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร  มีเกาะใหญ่ ๑๑ เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกันเท่ากับร้อยละ ๙๐ ของพื้นที่  เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะลูซอน อยู่ทางเหนือ และเกาะมินดาเนา ที่อยู่ทางใต้


เกาะต่าง ของฟิลิปปินส์ ถ้าวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ จะมีความยาวประมาณ ,๘๕๐ กิโลเมตร ถ้าวัดจากทิศตะวันออก ถึงทิศตะวันตก จะมีความยาวประมาณ ,๑๐๐ กิโลเมตร เกาะต่าง ของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็นสามหมู่คือ 
                หมู่เหนือ  ประกอบด้วย สองเกาะใหญ่ คือ เกาะลูซอน (Luzon) และเกาะะมินโดโร (Mindoro) 
                หมู่กลาง  เรียกว่า Visa yas ประกอบด้วยเกาะต่าง ประมาณ ,๐๐๐ เกาะ 
                หมู่เกาะใต้  ประกอบด้วย เกาะมินดาเนา (Mindanao)  และ Sulu Archipa lago   หมายถึง หมู่เกาะต่าง ประมาณ ๔๐๐ เกาะ ซึ่งอยู่เรียงรายทางใต้ของเกาะมินดาเนา ไปจนถึงทางทิศตะวันตกของเกาะบอร์เนียว 
                เกาะต่าง ของฟิลิปปินส์ ที่มีพื้นที่ ตารางไมล์ หรือมากกว่าเล็กน้อยมีอยู่ไม่ถึง ๕๐๐ เกาะ ตลอดชายฝั่งทะเลมีอ่าวเล็ก อ่าวใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นแนวฝั่งที่ยาว กว่าแนวฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ มีร่องลึกมินดาเนา ซึ่งเป็นทะเลที่มีความลึกมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ มีความลึกมากกว่า ๑๐,๔๐๐ เมตร 
  ลักษณะภูมิประเทศ     
             ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยหมู่เกาะต่างๆ มีเกาะใหญ่น้อย     มากกว่า   7,000   เกาะใหญ่ที่สุดคือ  เกาะลูซอน    มีภูเขาไฟที่ยังครุกรุ่นหลายลูก        เป็นผลให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ 
             ภูเขาและเทือกเขา  เทือกเขาบนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกภูเขาไฟ ที่ตั้งรายล้อมเป็นวงกลม ในมหาสมุทรแปซิฟิค มีแม่น้ำและทะเลสาบ อยู่เป็นจำนวนมาก อยู่ระหว่างช่องเขา 
            ภูเขาที่สูงที่สุดในฟิลิปปินส์คือ ภูเขาอาโป (Apo) มีความสูงถึง ๒,๙๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่บนเกาะมินดาเนา 
            ฟิลิปปินส์มีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับอีก ๕๐ แห่ง และมีภูเขาหินปูนอยู่กระจัดกระจาย ตามบริเวณเกาะต่าง ๆ และยิ่งไปกว่านั้น เกาะฟิลิปปินส์ ยังตั้งอยู่ในแนวแผ่นดินไหวของโลกอีกด้วย จึงเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นบ่อย ๆ 
            ที่ราบระหว่างเนินเขาต่าง ๆ มีดินที่อุดมสมบูรณ์ดี เพราะได้ปุ๋ยจากเถ้าถ่านภูเขาไฟ เหมาะแก่การเพาะปลูก 
            แม่น้ำสำคัญ  แม่น้ำในฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ มีขนาดเล็ก ๆ และสั้นคล้ายญี่ปุ่น และมีอยู่เป็นจำนวนมาก แม่น้ำใหญ่ ๆ มีอยู่ไม่กี่สาย แม่น้ำสายใหญ่ ๆ บางสายใช้เป็นเส้นทางเดินเรือกลไฟ และเรืออื่น ๆ แม่น้ำที่สำคัญของฟิลิปปินส์คือ 
                แม่น้ำคากายัน (Cagayan)  อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียเหนือของเกาะลูซอน เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ มีความยาวประมาณ ๓๒๐ กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้ ให้น้ำสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ ๑๖,๐๐ ตารางไมล์ 
                แม่น้ำอักโน (Agno)  เป็นแม่น้ำที่ไหลอยู่ตามบริเวณเทือกเขาตอนกลางของเกาะลูซอน 
                แม่น้ำปามปันกา (Pampanga)  เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ทางภาคเหนือ และภาคกลางของเกาะลูซอน แล้ไปออกทะเลทางเหนือสุดของอ่าวมนิลา 
                แม่น้ำปาสิก (Pasig)  แม่น้ำนี้มีความสำคัญเนื่องจากบนปากแม่น้ำสายนี้ เป็นที่ตั้งของกรุงมนิลา ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า และเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ เป็นทางระบายน้ำของทะเลสาบน้ำจืด ลากูนา เดอ เบย์ (Laguna de bay)  นอกจากนั้นยังเป็นเส้นทางการค้าของเรือกลไฟที่ขนส่งสินค้าระหว่าง กรุงมนิลา กับบริเวณที่อุดมสมบูรณ์บนฝั่งทะเลสาบ 
             

ลักษณะภูมิอากาศ
       ฟิลิปปินส์มีลักษณะภูมิประเทศ    เป็นหมู่เกาะ   ทำให้อุณหภูมิของประเทศ   ไม่สูงมากเหมือนอย่างประเทศไทยมีฝนตกชุกเกือบตลอดปี      ฟิลิปปินส์อยู่ในเขตใต้ฝุ่น     ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก 
 เมืองหลวง
            กรุงมะนิลา
      ประชากร
          ชาวเกาะฟิลิปปินส์ ปัจจุบันมีรูปร่างหน้าตาคล้ายพวกมองโกล ผสมผสาน มีผิวสีน้ำตาล แต่บางพวกก็มีผิวค่อนข้างขาว การที่ชาวฟิลิปปินส์มีลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นผล สืบเนื่องมาจากความซับซ้อนของเผ่าพันธุ์ อันเกิดจากการผสมผสาน ระหว่างเชื้อชาติต่าง ๆ คือ 
                ชนเผ่าดั้งเดิม  ตามตำนานของฟิลิปปินส์ กล่าวว่าประชาชนของตนเกิดมาจากปล้องไม้ไผ่ แต่ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดียืนยันว่า มีมนุษย์ดึกดำบรรพ์อย่างเช่น มนุษย์ชวา (Java man) อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะฟิลิปปินส์มาตั้งแต่สมัยน้ำแข็ง (Ice Age)  มีลักษณะสมองเล็ก หน้าผากแคบลาดต่ำ มีความสูงประมาณ ๔ - ๕ ฟุต ผิวเนื้อดำแดง ผมหยิก ซึ่งเรียกกันว่า คนแคระ (Pigmy) ซึ่งปัจจุบันเกือบจะสูญพันธุ์หมดแล้ว คนพวกนี้คือ บรรพบุรุษของชาวอีต้าส์ (Aetas) 
                เผ่าอินโดเนเซีย  ระหว่าง ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปี มาแล้ว เมื่อยุคน้ำแข็งปกคลุมโลก เริ่มละลายแผ่นดินที่เชื่อมหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และทวีปเอเชีย จมหายไปในทะเล ในยุคนี้มีชาวอินโดเนเซีย จากเอเซียอาคเนย์ เดินทางเข้าไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์โดยทางเรือ พวกนี้รูปร่างค่อนข้างสูง ผิวไม่ดำนัก และริมฝีปากบาง รู้จักการใช้หินขัดทำขวาน สิ่ว และเครื่องมือที่ทำด้วยไม้ นักมานุษยวิทยาได้จัดแบ่งคนกลุ่มนี้ไว้ ในกลุ่มชาวอินโดเนเซีย เอ (A) และผู้ที่สืบทอดจากชนกลุ่มนี้ ได้กลายมาเป็นประชากรฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ ๑๒ ของจำนวนประชากรทั้งหมด 
                ในช่วงระยะเวลา ๑,๕๐๐ - ๑,๓๐๐ ปีก่อนคริสกาล มีชาวผิวดำ จมูกโตแบน จากอินโดเนเซีย และภาคใต้ของจีน เดินทางมาอยู่ในฟิลิปปินส์ ต่อมาชนกลุ่มนี้ก็กลายเป็นชนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ ๑๘ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ชนกลุ่มนี้รู้จักการสร้างบ้าน หลัวคาทรงปิรามิด การทำนา บนที่ดอน และการคิดทำเครื่องมือช่วยในการทำนา ซึ่งทำด้วยหินชนิดแข็ง นักมานุษยวิทยาได้จัดคนพวกนี้เข้ากลุ่ม ชาวอินโดนีเซีย บี (B) 
                ต่อมาประมาณ ๘๐๐ ปีก่อนคริสตกาล มีประชากรที่มีวัฒนธรรมสูง รู้จักใช้โลหะบรอนซ์ - ทองแดง (Bronze - Copper Culture) ได้นำเอาความรู้เรื่องการชลประทาน เพื่อการปลูกข้าวมาเผยแพร่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ด้วย  ในปัจจุบัน คนที่สืบเชื้อสายมาจากคนกลุ่มนี้ มีอยู่ประมาณร้อยละ ๓ ของประชากรทั้งหมด คนกลุ่มนี้ถูกจัดไว้ในกลุ่มชาวอินโดนีเซียบี (B) 
                ชาวมาเลย์  มีลักษณะแบบชาวมองโกลอยด์ คือมีความสูงปานกลาง ค่อนข้างผอม แต่แข็งแรง จมูกแบน ผมดำตาสีน้ำตาล ผิวสีน้ำตาล  ได้เดินทางมาอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลังพวกอินโดนีเซีย ชาวมาเลย์ได้พากันอพยพเข้ามาอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์สามครั้งด้วยกันคือ 
                    ครั้งแรก  เข้าไปเมื่อประมาณ ๓๐๐ - ๒๐๐ ปีก่อนคริสตศักราช โดยเดินทางมาในเรือลำเล็ก มาขึ้นที่เกาะลูซอน และเกาะมินดาเนา  คนกลุ่มนี้รู้จักการทำชลประทานเพื่อการปลูกข้าว ประเพณีของชนกลุ่มนี้คือการล่าหัวมนุษย์ ชาวฟิลิปปินส์ปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากคนกลุ่มนี้ สันนิษฐานว่าคือชาวอีฟูเกา (Ifugaos) ซึ่งอยู่ตามบริเวณเทือกเขาของภาคเหนือของเกาะลูซอน 
                    ครั้งที่สอง  เข้ามาประมาณคริสตศตวรรษที่ ๑ ติดต่อเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ ๙ ซึ่งในขณะนั้นพ่อค้าชาวอาหรับและชาวจีน ทำการค้าขายอยู่ในเอเซียอาคเนย์ อย่างกว้างขวาง มีเส้นทางการค้าที่เชื่อมระหว่างจีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ บอร์เนียว และมะลักกา ชาวมาเลย์ที่อพยพเข้ามาอยู่ในฟิลิปปินส์ครั้งที่สอง นี้มีวัฒนธรรมสูงมาก แข่งกับกลุ่มชาวจีน คือมีภาษาเขียนแบบของตนเอง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มนี้ได้กลายมาเป็นประชากรส่วนใหญ่ของฟิลิปปินส์ในปัจจุบันซึ่งรวมถึงชาวตากาลอก (Tagalogs) อิโลคาโน (Ilocanos)  บิคอลส์ (Bikols)  วิสายัน (Visayans) และปามปันกา (Pampangans) อยู่ด้วย 
                    ครั้งที่สาม  เข้ามาระหว่างปี พ.ศ.๑๘๙๓ - ๑๙๙๓  คนมาเลย์ที่อพยพเข้ามากลุ่มนี้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นต้นตระกูล ของชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาอิสลามในปัจจุบัน  อย่างไรก็ดี ชาวมาเลย์กลุ่มนี้ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามมาก่อน แต่ที่มานับถือ เนื่องมาจากราชามากินดา (Rajah Baguinda) ของซูลู และชาริฟมูฮัมเหม็ด กาบัง สุโรน (Sharit Muhammed Kabangsuroan) มาจากยะโฮร์ (Jahore) และต่อมาเป็นสุลต่านคนแรกของเกาะมินดาเนา นำเอาศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ ในขณะที่พวกที่สืบเชื้อสายมาจากชาวมาเลย์ที่เข้ามาครั้งที่สอง หันไปนับถือศาสนาคริสต์ และใช้วัฒนธรรมแบบตะวันตก ซึ่งพวกสเปนนำไปเผยแพร่ 
                ชาวจีน  ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชาวจีนเริ่มเข้าไปตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๑ โดยเริ่มจากการไปติดต่อค้าขายกับชาวหมู่เกาะ และได้อพยพไปตั้งบ้านเรือนและกลายเป็นชาวเกาะไป 
                ประเทศไทยในสมัยสุโขทัยก็เคยติดต่อค้าขายกับหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลักฐานที่พบคือได้มีผู้ขุดพบเครื่องสังคโลก ในหมู่เกาะเชาตาควน (Chao Ta-kuan) 
                นักเดินทางชาวจีนในคริสตศตวรรษที่ ๑๐ ได้บันทึกไว้ว่า พ่อค้าชาวต่างประเทศได้นำเครื่องลายคราม ทองคำ แจกัน ทำด้วยเหล็ก เครื่องแก้ว ไข่มุก ผ้าไหม เป็นต้น ไปขายให้หมู่เกาะ  และชาวเกาะได้ส่งฝ้าย และสิ่งของที่ทำด้วยปอมนิลา และมะพร้าว เป็นต้น ออกไปขายในต่างประเทศเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน 
                สเปน  สเปนสนใจหมู่เกาะฟิลิปปินส์ตั้งแต่เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน (Ferdinana Magellan) ได้เดินเรือมาถึงเกาะเซบู (Cebu) เพื่อแสวงหาเครื่องเทศ ชาวสเปนที่ติดตามมา เรียกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ว่า หมู่เกาะตะวันตก (Western Island)  แมกเจลแลนได้เปลี่ยนชื่อหมู่เกาะเป็นชื่อ เซนต์ ลาซารัส (Saint Lazarus)   แมกเจลแลนถูกฆ่าตายในการรบ ระหว่างชาวเกาะผู้ติดตามมาในขบวนเรือของเขา ได้คุมเรือกลับไปถึงสเปน เมื่อปี ค.ศ.๑๕๒๒  ชาวสเปนจึงได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับหมู่เกาะนี้ 
                ต่อมาในปี พ.ศ.๑๕๔๓ ชาวสเปน คนหนึ่งได้ให้ชื่อหมู่เกาะเสียใหม่ว่า เฟลิปปินา (Felipina) ต่อมาเปลี่ยนเป็น Philippine  เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่เจ้าชายฟิลิป รัชทายาทแห่งสเปญ 
                ชาวปอร์ตุเกส อ้างว่าหมู่เกาะฟิลิปปนส์เป็นของตน แต่สเปญไม่ยอม ในที่สุดเมื่อปี ค.ศ.๑๕๒๙ ทั้งสองประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาชื่อเซรากอสชา (Seragossa) โดยมีสาระสำคัญคือ 
                - สเปญยอมสละข้อเรียกร้องของตน เกี่ยวกับเกาะโมลัคคัส (Moluccas) และได้รับเงินจำนวน ๓๕๐,๐๐๐ ดูคัท (Ducat ) เป็นการตอบแทน 
                - เส้นแบ่งเขตโลกตะวันออก ได้ขยายออกไปทางทิศตะวันออกของเกาะโมลัคคัส เป็นระยะ ๒๙๗ ๑/๒ ลีค (Leagues - ประมาณ ๙๐๐ ไมล์) 
                ต่อมาเจ้าชายฟิลิป ได้ครองสเปญ เมื่อ ค.ศ.๑๕๕๖ พระองค์สนพระทัย จะได้หมู่เกาะฟิลิปปินส์มาเป็นอาณานิคม จึงให้อุปราชสเปญประจำเมกซิโก เตรียมการจะยกทัพเรือไปยึดหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ต่อมาเมื่อปี ค.ศ.๑๕๖๔ ได้มีผู้คุมกองเรือสเปญมุ่งไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ขบวนเรือแล่นได้ถึงเกาะเซบู ปรากฎว่าชาวเมืองแสดงตนไม่เป็นมิตรต่อสเปญ ชาวปอตุเกสก็คอยรบกวนสเปญอยู่เสมอ 
                ต่อมาในปี ค.ศ.๑๕๗๐ กองเรือสเปญดังกล่าวได้เข้าตีเมืองมนิลา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ของพวกโมโร (Moro) อยู่ในเกาะลูซอน อยู่ในการปกครองของ ราชา โซลิมัน (Rajah Soliman) เมื่อตีได้เมืองมนิลาแล้วก็ได้ประกาศตั้งเมืองมนิลาเป็นเมืองหลวงของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เมื่อปี ค.ศ.๑๕๗๑ (พ.ศ.๒๑๑๔) หมู่เกาะฟิลิปปินส์ จึงตกเป็นของสเปญตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ปรากฎว่าหมู่เกาะฟิลิปปินส์ไม่อุดมด้วยเครื่องเทศ รัฐบาลสเปญได้ส่งเสริมให้เผยแพร่คริสศาสนานิกายโรมันคาธอลิค คริสตศาสนานิกายนี้จึงได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของหมู่เกาะ เนื่องจากศาสนาอิสลาม มีผู้นับถืออยู่มากในภาคใต้ของหมู่เกาะ 
                สเปญได้ตั้งผู้สำเร็จราชการมาประจำหมู่เกาะ ภายหลังงปี ค.ศ.๑๕๘๑ สันตปาปาได้ตั้งมนิลาเป็นศูนย์กลางของคณะบาดหลวง โดยตั้งอารต์ปิชอบ (Arch bishop) เป็นประมุข 
                ปอร์ตุเกส  ได้พยายามขับไล่สเปญให้ออกไปจากฟิลิปปินส์ โดยในปี ค.ศ.๑๕๗๐ ได้ยกขบวนเรือเข้าไปในท่าเรือเมืองเซอูล และบังคับให้สเปญรื้อป้อมที่เมืองนั้น แต่ชาวสเปญสู้รบอย่างเข้มแข็ง ในที่สุดกองเรือปอร์ตุเกสต้องล่าถอยกลับไป 
                ฮอลันดา  ฮอลันดาได้ไปตั้งมั่นอยู่ในชวา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปัตตาเวีย (Batavia) ได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกขึ้น และบริษัทนี้ ได้ขยายตังออกไปปกครองหมู่เกาะใกล้เคียง ในระยะ ๕๐ ปีแรกของคริสตศตวรรษที่ ๑๗ ฮอลันดาได้ปะทะกับสเปญหลายครั้ง และเมื่อปี ค.ศ.๑๖๔๗ ได้ปะทะกันที่แหลมบาแทน (Bataan) ใกล้มนิลา ปรากฎว่า ฮอลันดาพ่ายแพ้ยับเยินไม่กล้าไปรบกวนสเปญ ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์อีกต่อไป 
                อังกฤษ  สเปญปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์อย่างกดขี่ชาวพื้นเมือง ชาวพื้นเมืองที่ต้องการหลบอำนาจของสเปญ ก็มักจะไปเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ เพื่อขอความคุ้มครองจากบาดหลวง ประชาชนต้องจ่ายค่าส่วยสาอากร และถูกเกณฑ์แรงงาน จึงได้ก่อการกบฎต่อสเปญหลายครั้ง เช่นในคริสตศตวรรษที่ ๑๗ มีถึง ๑๓ ครั้ง  แต่สเปญสามารถปราบปรามได้ 
                ในตอนปลายสงครามเจ็ดปี (ค.ศ.๑๗๕๖ - ๑๗๖๓) กองทัพเรืออังกฤษได้เข้าโจมตีหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และยกพลขึ้นบกที่เมืองมนิลา และยึดเมืองไว้ได้ แล้วกระจายกำลังไปยึดครองภาคอื่น ๆ ของหมู่เกาะ อังกฤษยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่สองปี ก็ยุติลงด้วยสนธิสัญญาปารีส (ค.ศ.๑๗๖๓) อังกฤษถอนตัวออก เมื่อปี ค.ศ.๑๗๖๔ สเปญก็กลับเข้าปกครองหมู่เกาะตามเดิม 
                สหรัฐอเมริกา  ในปี ค.ศ.๑๘๙๕ ได้เกิดกบฎในคิวบา ที่สเปญปกครองอยู่ สหรัฐเข้าข้างพวกกบฎ สเปญได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐเมื่อปี ค.ศ.๑๘๙๘ กองเรือสหรัฐอเมริกาประจำน่านน้ำตะวันออก ได้นำกำลังไปยังน่านน้ำมนิลา เกิดการปะทะกับกองเรือสเปญ ผลจากการปะทะกัน สเปญยอมแพ้สหรัฐ ฯ ทั้งในฟิลิปปินส์และในคิวบา ยอมสงบศึกโดยทำสนธิสัญญาปารีส ๑๘๙๘ (Paris threaty ๑๘๙๘) ว่าสเปญมอบอิสระภาพให้คิวบา ให้คิวบาเป็นประเทศอิสระ ภายใต้การคุ้มครองของสหรัฐ ฯ มีฐานะเป็นรัฐลูกค้า (Client State) และสเปญโอน เปอร์โต ริโก (Puerto Rico) กับฟิลิปปินส์ให้สหรัฐ ฯ ส่วนสหรัฐ ฯ ยอมจ่ายเงิน ๒๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ ให้แก่สเปญ 
                ในการปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการเพื่อให้หมู่เกาะได้เอกราชในที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ.๑๙๑๖ ได้ประกาศรัฐบัญญัติชื่อว่า Jones Act โดยมีความมุ่งหมายที่จะเพิกถอนอำนาจอธิปไตยของตน ออกจากหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี ค.ศ.๑๙๓๔ ได้มีการตรารัฐบัญญัติกำหนดระยะเวลาที่จะให้เอกราชกับหมู่เกาะ 
ในปี ค.ศ.๑๙๓๕ ฟิลิปปินส์ได้ตรารัฐธรรมนูญขึ้น ตั้งหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นวงไพบูลย์ร่วมกัน (Common Wealth) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แต่ยังคงปกครองภายใต้การควบคุมของข้าหลวงใหญ่สหรัฐ ฯ 
       การเมืองการปกครอง
       แต่เดิมฟิลิปปินส์มีการปกครองระบอบประธานาธิบดี ต่อมาได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกำหนดให้ฟิลิปปินส์เป็นสาธารณรัฐ มีระบบการปกครองแบบรัฐสภา ประธานาธิบดีซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศ และต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ๆ ในขณะดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฟิลิปปินส์ที่ร่างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๗ และประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ 

            ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ประธานาธิบดีเฟอร์ดินาล มาร์กอส ได้ประกาศกฎอัยการศึกตามอำนาจในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.๒๔๗๘ แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนฉบับเดิม รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีเพียง ๑๗ มาตรา ประกาศใช้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖  กำหนดให้ฟิลิปปินส์ มีการปกครองแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล 
            รัฐธรรมนูญฉบับเดิม และโครงสร้างของการปกครองฟิลิปปินส์มีอุปสรรคขัดขวางความเจริญอย่างหนึ่งคือบรรดาเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวย เข้ามามีอิทธิพลในสภาของฟิลิปปินส์ คนกลุ่มนี้จะสนใจเฉพาะผลประโยชน์ และความมีอภิสิทธิ์ของพวกตนเท่านั้น 

            เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ ที่ประกอบด้วยเกาะเป็นจำนวนมาก และอยู่อย่างกระจัดกระจาย การปกครองจึงจำเป็นต้องมาจากส่วนกลางมากกว่า จะเป็นการปกครองแบบสหพันธ์ เช่น สหรัฐอเมริกา 

       ฟิลิปปินส์แบ่งเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่น (local government units, LGUs) โดยที่มีจังหวัดเป็นหน่วยหลัก ในปี พ.ศ. 2545 มี 79 จังหวัด (provinces) แบ่งออกเป็น นคร (cities) และ เทศบาล (municipalities) ซึ่งหน่วยการปกครองทั้งสองยังประกอบไปด้วย บารังไกย์ (barangay) อีกทอดหนึ่ง ถือเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นที่เล็กที่สุด
ฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 17 เขต (regions) ซึ่งทุกจังหวัดได้ถูกจัดอยู่ใน 16 เขตเพื่อความสะดวกในการปกครอง ยกเว้นเขตนครหลวง (National Capital Region) ที่แบ่งออกเป็นเขตพิเศษ 4 แห่ง
หน่วยงานของรัฐบาลส่วนใหญ่จะตั้งสำนักงานในแต่ละภูมิภาค เพื่อรับใช้ประชาชนในจังหวัดที่อยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ ภูมิภาคไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นแยกต่างหาก ยกเว้นเขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิมและเขตบริหารคอร์ดิลเลราซึ่งปกครองตนเองไม่ได้ให้ผู้อื่นปกครอง
         ภาษา 
             ฟิลิปปินส์มีภาษาพูดมากกว่า ๑๐๐ ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่มีรากเง้ามาจากภาษามาเลย์ ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดได้แก่ ภาษาตากาลอก (Tagalog) ซีบูโน (Cebuno) โอลอนโก (Ilongo) วาเรย์ - วาเรย์ (Waray - Waray) อิโลคาโน (Ilocano) ปามปันโก (Pampanco) และไบกอล (Bikol) 
       สมัยที่ฟิลิปปินส์ตกอยู่ในการปกครองของสเปญ เป็นเวลาประมาณ ๓๐๐ ปีนั้น ภาษาทางราชการคือ ภาษาสเปญ และเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามาปกครองต่อจากสเปญ เป็นเวลาอีกประมาณ ๕๐ ปี ภาษาทางราชการก็เปลี่ยนมาเป็นภาษาอังกฤษ ปัจจุบันภาษาราชการคือ ภาษาฟิลิปปินส์ ซึ่งแปลงมาจากภาษากาตาล็อก อันมีรากฐานมาจากภาษามาเลย์ และเป็นภาษาบังคับในโรงเรียน แต่เนื่องจากทั่วประเทศ มีภาษาแตกต่างกัน หลายภาษาจึงให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อกลาง
        ศาสนา
             ชาวพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ มีความเชื่อถือในพระเจ้าที่เรียกว่า Bathalang Majkapall  เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอื่น ๆ อีกมาก ที่มีอำนาจรองลงมา 
            คนพื้นเมือง จะมีพิธีทางศาสนาด้วยการสวดมนต์ และบูชายัญต่อเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีนักบวชของนิกายนั้น ๆ เป็นผู้ทำพิธี 
            นอกจากเทพเจ้าแล้ว ชาวพื้นเมืองยังนับถือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ดาวตก ผีพุ่งใต้ และรวมไปถึงการนับถือบูชาสัตว์บางชนิด เช่น นก และจรเข้ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีต้นไม้ใหญ่ ที่มีอายุมาก แม่น้ำ ก้อนหิน ที่ถูกธรรมชาติตกแต่งไว้อย่างสวยงาม และแปลก 
            นอกจากนั้น ยังเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ว วิญญาณก็จะต้องท่องเที่ยว จะได้ขึ้นสวรรค์ถ้าคนนั้นมีพฤติกรรมดี ส่วนผู้ที่กระทำชั่ว ดุร้าย โหดเหี้ยม ไม่ยุติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ ก็จะถูกพระเจ้าลงโทษ และนำไปสู่นรก 
            ความเชื่อในยุคโบราณดังกล่าวยังคงมีอยู่ เป็นมรดกสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน สังเกตเห็นได้จากงานเทศกาล และพิธีการต่าง ๆ ของชาวฟิลิปปินส์ 
                ศาสนาอิสลาม  เริ่มเข้ามาสู่คนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ เมื่อคริสตศตวรรษที่ ๑๔ โดยชนชาวอาหรับได้เข้ามาระหว่างที่มีการติดต่อค้าขายกับฟิลิปปินส์ ปัจจุบันศาสนาอิสลามเริ่มมีบทบาท และอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวฟิลิปปินส์เป็นอย่างมาก พวกนี้จะเรียกตนเองว่า โมโร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งอยู่ในเกาะมินดาเนา และเกาะซูลู เป็นส่วนมาก
                ศาสนาคริสต์  นิกายโรมันคาธอลิค เป็นนิกายที่สเปญนำเข้ามเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ ในระหว่างที่สเปญปกครองฟิลิปปินส์ คนฟิลิปปินส์ ให้การยอมรับนับถือนิกายนี้มาก และศาสนาคริสต์มีอิทธิพลในวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์มาก นอกจากนี้การนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิค ยังสามารถมีสิทธิในการยกเว้นภาษี และได้รับผลประโยชน์อื่น ๆ อีกด้วย เพราะบาทหลวงจะเป็นผู้คอยปกป้องบุคคลเหล่านั้นตลอดเวลา ด้วยสาเหตุดังกล่าว คริสตศาสนา จึงเป็นศาสนาประจำชาติ ของฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน นิกายโรมันคาธอลิค มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๘๓ นิกายโปรเตสแตนท์ประมาณร้อยละ ๓ รวมเป็นประมาณร้อยละ ๘๖ 
                หลังจากที่สหรัฐ ฯ เข้ามามีบทบาทในการปกครองฟิลิปปินส์แล้ว สหรัฐ ฯ ได้ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ชาวฟิลิปปินส์อย่างมาก และเปิดโอกาสให้ประชาชน มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา และได้นำเอานิกายโปรเตสแตนท์เข้ามาเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ด้วย จากสถิติของประชากรที่นับถือศาสนาต่าง ๆ นอกจากศาสนาคริสต์ แล้ว มีผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ ๔ ไม่นับถือศาสนาใดประมาณร้อยละ ๒
        เศรษฐกิจ
          1.    เกษตรกรรม   พืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า 
        2.     ป่าไม้   มีป่าไม้หนาแน่น เป็นรายได้สำคัญ คือ ไม้มะฮอกกานี
        3.     เหมืองแร่   ฟิลิปปินส์ไม่มีแร่ดีบุก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน
        4.    อุตสาหกรรม  ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น โรงงานเยื่อกระดาษ แปรรูปไม้
 สกุลเงิน
    หน่วยที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนในรูปแบบของเงิน สกุลเงินจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศหรือกลุ่มประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเงิน หรือการซื้อของหรือบริการ ระหว่างประเทศที่ใช้สกุลเงินต่างกัน จะใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง ในหลายๆ ประเทศสกุลเงินสามารถมีชื่อเดียวกันได้เช่น ดอลล่าร์สหรัฐ ดอลล่าร์ฮ่องกง และดอลล่าร์แคนาดาและในหลายประเทศใช้ สกุลเงินเดียวกัน เช่นในประเทศแถบยุโรปหลายประเทศใช้สกุลเงินยูโร และในบางประเทศใช้หน่วยเงินของประเทศอื่นเป็นเกณฑ์เช่น ประเทศปานามา และ ประเทศเอลซาวาดอร์ ใช้สกุลเงิน ดอลล่าร์สหรัฐสกุลเงินทั่วไปจะมีหน่วยสกุลเงินย่อย โดยส่วนมากจะเป็นอัตราส่วน 1/100 ของสกุลเงินหลัก เช่น 100 สตางค์ = บาท หรือ 100 เซนต์ = ดอลล่าร์ แต่บางสกุลเงินจะไม่มีหน่วยย่อยเช่น สกุลเงินเยน ในหลายหลายประเทศเนื่องจากเงินเฟ้อ ทำให้สกุลเงินย่อยมีการเลิกใช้ไป
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ 
 
         ความสัมพันธ์กับสหรัฐ ฯ  ฟิลิปปินส์มีความผูกพันแน่นแฟ้นกับสหรัฐ ฯ มากที่สุด จนกล่าวกันว่า ฟิลิปปินส์เป็นรัฐ ๕๑ ของสหรัฐ ฯ ในขณะนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐ ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือทางทหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรมแก่ฟิลิปปินส์เป็นอันมาก ได้มีข้อตกลง และสัญญาทางทหารระหว่างกันอยู่สามฉบับ 
                หลังจากเวียดนามใต้ และกัมพูชาตกเป็นของคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้มีการกล่าวถึงปัญหาฐานทัพสหรัฐ ฯ ในฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๙ สหรัฐ ฯ และฟิลิปปินส์ได้นำข้อตกลง

ฉบับแรกที่ทำไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ มาทบทวน เพื่อแก้ไขใหม่ มีการเจรจากันหลายครั้ง ในที่สุดได้บรรลุข้อตกลงในปี พ.ศ.๒๕๒๒ โดยสหรัฐ ฯ ยืนยันในอธิปไตยของฟิลิปปินส์ เหนือฐานทัพสหรัฐ ฯ ในฟิลิปปินส์ทุกแห่ง 
                ความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต  เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และทำการค้าระหว่างกัน ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ เริ่มทำการค้าระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ 
                ความสัมพันธ์กับประเทศจีน  เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และทำการค้าระหว่างกัน ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ 
                ความสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่น  ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกับสหรัฐ ฯ และญี่ปุ่น ลงทุนในฟิลิปปินส์เป็นอันดับสองรองจากสหรัฐ ฯ 
                ความสัมพันธ์กับประเทศอินโดจีน  ได้แก่ กัมพูชา และเวียดนาม 
                    ประเทศกัมพูชา  ฟิลิปปินส์ได้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชา ในระดับเอกอัคราชทูต เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ 
                    เวียดนาม  ได้มีการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ 
                ปัญหาหมู่เกาะสแปรตลี  ฟิลิปปินส์ไม่เห็นด้วย กับปฎิบัติการของไต้หวัน และเวียดนามใต้ ที่พยายามจะยึดครองเกาะสแปรตลี ในทะเลจีนใต้ และได้แถลงปฎิเสธ ข้อกล่าวหาของเวียดนามใต้ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ที่ว่า ฟิลิปปินส์ส่งกองทหารเข้ายึดครองเกาะสองแห่ง ในหมู่เกาะสแปรตลี และย้ำว่าฟิลิปปินส์ไม่เคยอ้างสิทธิใด ๆ เหนือหมู่เกาะสแปรตลี นอกจากหมู่เกาะกาลายา ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับเกาะสแปรตลี เท่านั้น 
                ความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน  ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ได้ร่วมมือกันก่อตั้งสมาคมอาสา (ASA) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๔ ต่อมาได้เชิญอินโดนิเซีย กับสิงคโปร์เข้าร่วมด้วย และจัดตั้งเป็นสมาคมใหม่ เรียกว่าสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Asean) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก และต่อมาได้ขยายขอบเขตไปสู่ความร่วมมือทางการเมืองด้วย 
                ฟิลิปปินส์มีปัญหาขัดแย้งกับมาเลเซียเรื่องรัฐซาบาห์ ซึ่งฟิลิปปินส์เรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนซาบาห์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๔ ก่อนที่ซาบาห์จะรวมเข้ากับสหพันธ์มาเลเซีย ต่อมาความขัดแย้งรุนแรงขึ้น โดยฟิลิปปินส์กล่าวหาว่า มาเลเซียให้การสนับสนุนกบฎมุสลิมทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ จนในที่สุดประเทศทั้งสองได้ตัดความสัมพันธ์กัน ในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๑ และได้มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์กันอีกครั้ง ในกลางปี พ.ศ.๒๕๑๓ ปัญหาข้อขัดแย้งรัฐซาบาห์ ยุติลงได้ชั่วคราวในปี พ.ศ.๒๕๒๐ 
                สำหรับประเทศอื่น ๆ ในสมาคมอาเซียนอีกสามประเทศคือ ไทย อินโดนิเซีย และสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ก็มีความสัมพันธ์อันดีมาตลอด 
                ในปลายปี พ.ศ.๒๕๑๘ ฟิลิปปินส์ได้เจรจากับอินโดนิเซีย เพื่อให้อินโดนิเซียไกล่เกลี่ยเกี่ยวกับปัญหากบฎมุสลิมทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ต่อมาในปลายปี พ.ศ.๒๕๒๑ อินโดนิเซียและมาเลเซียได้เสนอให้ฟิลิปปินส์ เปิดการเจรจาสันติภาพกับกบฎมุสลิมต่อไป โดยที่สองประเทศยินดีจะเข้าเป็นผู้พิจารณาไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งด้วย 
            ภาษาง่ายๆไว้ใช้ที่ประเทศฟิลิปปินส์
               
      สวัสดี (กูมุสตา) Kumusta
                 ขอบคุณ (ซาลามัต) Salamat
                 ขอโทษ (ปะ อุมันฮิน) Paumanhin
                 กรุณา (ปากีซูโย่) Pakisuyo
                 สบายดีไหม ? (กูมุสตา กา) 
Kamusta ka?
                 กี่โมงแล้ว ? (อานง ออราส นา) Anong oras na?
                 อยู่ใหน? (นา ซาอัน อัง....) NaSaan an...?
                 ลาก่อน (ปาอาลัม) Paalam
                 คุณพูดภาษาอังกฤษได้ไหม? (มารูนง บากายง มัก ซาลิตานัง อิงเก             ลส) Marunnong 
ba kayong magsalita ng Ingles?
     

       การแต่งกาย

                   นิยมใช้เครื่องประดับกาย ชาวเกาะ วิสายัน ชอบสักตามใบหน้า ร่างกาย และแขนขา ชายหญิงสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำและเพชร พลอย ชาวพื้น เมืองนิยมใส่ปลอกแขน กำไล และสร้อยคอ ก่อนสเปนเข้าครอบครอง สังคมแบ่ง ออกเป็น 3 ชนชิ้น คือ ขุนนาง เสรีชน และทาส 

ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 สเปนก็พบฟิลิปปินส์เป็นชาติแรก ต่อมาเกาะทุกเกาะก็ตกอยู่ ในการปกครองของสเปน และได้รับอารยธรรมต่าง ๆ ตลอดจนประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมการ แต่งกาย และการดำเนินชีวิต ส่วนการแต่งกายก็ไม่มีการสวมเสื้อ แต่งกายแบบชาวเกาะ นิยม ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ และสักตามร่างกายดังกล่าวแล้ว

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิลิปปินส์ได้เอกราชตามสนธิสัญญา เหตุการณ์บ้านเมือง ศิลปวัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย ก็มีการผสมผสานกันระหว่างชาวยุโรป เอเชีย และตะวันตก

เครื่องแต่งกายประจำชาติเป็นเสื้อคอกว้างแบบตะวันตก แขนยกตั้งเป็นปีกกว้าง ทำด้วยผ้า บางและแข็งอย่างไหมสับปะรด นุ่งกระโปรงติดกับเสื้อเป็นชุดเดียวกัน ส่วนตามเกาะต่าง ๆ มีการ แต่งกายแบบคล้ายชาวมลายู และอินโดนีเซีย คือ นุ่งโสร่งปาเต๊ะ สวมเสื้อผ้าไหมสับปะรดหรือแพร แขนกระบอกยาวจดข้อมือ มีผ้าพาดบ่า ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาวทำจากใบสับปะรด นุ่งกางเกง แบบสากล

การทอผ้าใยสับปะรดทองฟิลิปปินส์ ทอกันมากกว่า 400 ปี หรือมากกว่า การทอใย สับปะรดเป็นงานที่ละเอียดอ่อนใช้เวลามาก ใยสับปะรดเป็นเส้นใยที่มีความเหนียวดีมาก โดยเฉพาะ เส้นใยของสับปะรดที่ได้จากเมืองอะคลัน
การแต่งกายของชาวฟิลิปปินส์

           อาหารฟิลิปปินส์ 
              อาหารมีตั้งแต่ง่ายมากเช่นปลาทอดเค็มและข้าวและอาหารที่มีความประณีต อาหารยอดนิยมฟิลิปปินส์ยอดนิยมได้แก่ เลโชน (lechón หมูย่างทั้งตัว), ลองกานีซา (longganisa ไส้กรอกฟิลิปปินส์) ตาปา (tapa ทำจากเนื้อวัว) ตอร์ตา (torta ไข่เจียว) อะโดโบ (adobo ไก่และ / หรือหมูต้มในกระเทียม น้ำส้มสายชู น้ำมัน และซอสถั่วเหลืองเคี่ยวจนแห้ง) กัลเดเรตา (kaldereta สตูว์เนื้อในซอสมะเขือเทศ) เมชาโด (mechado เนื้อ ปรุงกับถั่วเหลืองและซอสมะเขือเทศ)โปเชโร (pochero กล้วยและเนื้อในซอสมะเขือเทศ) อะฟริตาดา (afritada ไก่หรือหมูในซอสมะเขือเทศกับผัก) กาเร-กาเร (kare - kare หางวัว และผักสุกในซอสถั่วลิสง) พาตากรอบ (ขาหมูทอด )ฮาโมนาโด (hamonado หมูหวานในซอสสับปะรด) อาหารทะเลในน้ำซุปรสเปรี้ยว ปันสิท( pancit ก๋วยเตี๋ยว) และลุมเปีย (lumpia ปอเปี๊ยะสดหรือทอด)
         
อ้างอิง

th.wikipedia.org/wiki/ประเทศฟิลิปปินส์

asean.jsforeign.com/memberofasean/philippines